ความขัดแย้งในคริสต์วรรษที่ 20
การปฏิวัติอุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาการของโลกในคริสต์สตวรรษที่ 19
ทำให้โลกก้าวหน้ามากขึ้น มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และปรับปรุงการคมนาคมที่
อำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและพาณิชย-
กรรม อันมีผลทำให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติมหาอำนาจ และเริ่มแข่งขันกันแสวงหา
อาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเล อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 โดยการ
ล้มล้างสถาบันกษัตริย์แล้วตั้งรัฐบาลที่มาจากประชาชน ตลอดจนการปฏิวัติของชาวอเมริกันเพื่อ
แยกตัวเป็นอิสระจากอังกฤษใน ค.ศ. 1776 รวมทั้งความเจริญทางด้านอุตสาหกรรม ด้าน
พาณิชกรรมและลัทธิจักรวรรดินิยมได้มีส่วนกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งที่สำคัญใน
ประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ การเกิดสงครามโลก
ซึ่งผลของสงครามก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตมนุษย์และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการแข่งขันกันทางเศรษฐกิจและ
การแย่งชิงทรัพยากรหรือดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีสาเหตุมาจากการแข่งขันทางการ
เมืองเพื่อความเป็นใหญ่ในภูมิภาค เช่น นโยบายสร้างฝรั่งเศสในสมัยนโปเลียน นโยบายสร้าง
เยอรมนีให้ยิ่งใหญ่ เป็นต้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางศาสนา
และการเมือง ทางด้านศาสนา เช่น สงครามครูเสดระหว่างศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามใน
คริสต์ศตวรรษที่ 13 ทางด้านการเมือง เช่น ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ประชาธิปไตยกับ
คอมมิวนิสต์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น ทั้งนี้ความขัดแย้งที่สำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่
เกิดขึ้นจากการยึดมั่นในอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดสงครามขึ้น ได้แก่
สงครามโลกครั้งที่ 1 สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น
สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War : ค.ศ. 1914-1918)
สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) เป็นสงครามที่เริ่มขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914
และสิ้นสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งนี้เป็นสงครามที่เกิดจากความ
ขัดแย้งของประเทศในทวีปยุโรปและลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกมากกว่า 30 ประเทศ
สร้างความเสียหายให้แก่มนุษยชาติอย่างรุนแรง จึงเรียกสงครามโลกครั้งนี้อีกอย่างหนึ่งว่า
มหาสงคราม (Great War)
สงครามโลกครั้งที่ 2 (Second World War : ค.ศ.1939-1945)
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสงครามที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียง 20 ปีสงครามครั้งนี้ขยายไปทั่วโลก ทั้งยุโรป แอฟริกา และเอเชีย สงครามครั้งนี้มีระยะเวลายาวนานถึง6 ปี จึงยุติเป็นสงครามที่ทำลายล้างผู้คนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมหาศาล
- ไทยได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา แต่ทูตไทยในสหรัฐอเมริกา ที่ นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอมรับทราบในการกระทำของรัฐบาล จึงได้ร่วมมือกันตั้งเสรีไทยขึ้นติดต่อกับ นายปรีดี พนมยงค์ ในเมืองไทย เมื่อสงครามสงบในวันที่
- ไทย กับสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางด้านเอเชีย ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2484 ต่อมา วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญี่ปุ่นก็เข้าเมืองไทย ทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ และ สมุทรปราการ ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็เข้าโจมตีเกาะฮาวาย, ฟิลิปปินส์และส่งทหารขึ้นบกที่มลายูและโจมตีสิงคโปร์ทางเครื่องบิน สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939)ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 8 (ขณะนั้นเสด็จประทับอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์) หลวงพิบูลสงคราม(จอมพล ป. พิบูล สงคราม)เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเริ่มสงครามนั้นไท ยประกาศตนเป็นกลาง แต่ในวันที่ 8ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นนำเรือรบบุกขึ้นชายทะเลภาคใต้ของไทยโดยไม่ทันรู้ตัว รัฐบาลต้องยอมให้ญี่ปุ่นผ่าน ทำพิธีเคารพเอกราชกันและกัน กลุ่มคนไทยบางส่วนโดยเฉพาะในต่างประเทศไทยได้จัดตั้งขบวนการเสรีไทย (Free Thai Movement) ดำเนินช่วยเหลือฝ่ายสัมพันธมิตร จึงช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการแพ้สงคราม ซึ่งในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942)16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยประกาศสงครามเป็นโมฆะ ซึ่งสหรัฐอเมริการับรอง ต่อมาไทยได้เจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 และกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ความมุ่งหวังที่ญี่ปุ่นจะอาศัยปร ะเทศไทยเป็นทางผ่านไปยังพม่าเพื่อยึดครองอินเดีย ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นเหนือแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อเริ่มสร้างทางรถไฟสายมรณะในเดือนกันยายน พ.ศ. 2485 ทั้งคนงานและเชลยศึกจำนวนหมื่นถูกเกณฑ์มาสร้างทางรถไฟยาว 415 กิโลเมตร ต้องโหมทำงานตลอดวันตลอดคืน บุกเบิกเข้าไปในป่ากว้างที่เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายและโรคภัย คนงานและเชลยศึกเหล่านั้นมีทั้งพม่า ชวา มลายู อังกฤษ ออสเตรเลีย ฮอลแลนด์ ต้องประสบความทุกข์ทรมาน เจ็บปวดล้มตายเป็นจำนวนมาก ทางรถไฟพังทลายเพราะน้ำเซาะคันดินและสะพานข้ามแม่น้ำแควถูกระเบิดครั้งแล้วครั้งเล่า จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นจึงได้ทำพิธีเปิดทางรถไฟสายนี้อย่างเป็นทางการ
สาเหตุที่ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง
เหตุเพราะเรามีกำลังน้อยเมื่อญี่ปุ่นบุกจึงไม่สามารถต่อต้านได้ และเพื่อป้องกันมิให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นในด้านเศรษฐกิจและการเมือง
ผลของสงครามต่อไทย คือ
1. ไทยต้องส่งทหารไปช่วยญี่ปุ่นรบ
2. ได้ดินแดนเชียงตุง และสี่จังหวัดภาคใต้ที่ต้องเสียแก่อังกฤษกลับมา แต่ต้องคืนให้เจ้าของเมื่อสงครามสงบลง
3. เกิดขบวนการเสรีไทย ซึ่งให้พ้นจากการยึดครอง
4. ไทยได้รับเกียรติเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
สำหรับประเทศไทยนั้น เราได้เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นเพียงประเทศเดียวในทวีปเอเชียและแปซิฟิกไม่นับรวมญี่ปุ่น ที่เข้าร่วมกับพวกอักษะ สาเหตุการเข้าร่วมนั้น สืบเนื่องมาจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกในสมัย รัชกาลที่ 5 ทุกประเทศในฝั่งทะเลแปซิฟิกและทะเลอันดามัน ถูกเป็นเมืองขึ้นกันหมด เหลือแต่ไทยและญี่ปุ่นเท่านั้น และจากการที่สยามโดนยึดดินแดนรอบนอกส่วนต่างๆ (ซึ่งเดิมเป็นของไทย)เช่น เขมร ลาว บางส่วนของพม่า บางส่วนของจีน และส่วนเหนือของมาเลเซีย ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นของสยาม ทำให้เกิดความรู้สึกชาตินิยมขึ้นมา ประกอบกับเผด็จการจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต้องการนำส่วนที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำให้เราโจมตีอินโดจีนของฝรั่งเศส เราจึงร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น
มุมมองของญี่ปุ่นต่อไทยสมัยนั้น ถือว่าเราเป็นเมืองที่ค่อนข้างเจริญ และไม่เคยถูกชาวต่างชาติครอบงำเหมือนประเทศหลายๆประเทศในแถบนี้ จึงต้องการให้ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เพราะนโยบายของญี่ปุ่นคือ ต่อต้านและขับไล่ชาวตะวันตก ให้ออกไปจากแผ่นดินเอเชียให้หมด ประเทศ
มุมมองของญี่ปุ่นต่อไทยสมัยนั้น ถือว่าเราเป็นเมืองที่ค่อนข้างเจริญ และไม่เคยถูกชาวต่างชาติครอบงำเหมือนประเทศหลายๆประเทศในแถบนี้ จึงต้องการให้ไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ เพราะนโยบายของญี่ปุ่นคือ ต่อต้านและขับไล่ชาวตะวันตก ให้ออกไปจากแผ่นดินเอเชียให้หมด ประเทศ
สงครามเย็น
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเมื่อ ค.ศ. 1945 ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างตระหนักถึงภัย
พิบัติของสงคราม เพราะการสู้รบใช้เทคโนโลยีและยุทธวิธีทางอากาศที่ก่อความเสียหายอย่าง
มากมายในสมรภูมิรบที่กระจายในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทวีปยุโรป ซึ่งเคยเป็น
มหาอำนาจในโลกยุคใหม่เพราะเป็นผู้นำการปฏิวัติอุตสาหกรรม และเจ้าแห่งจักรวรรดินิยมได้
สูญเสียอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่เสียหายน้อยมาก
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจได้กลาย
เป็นผู้นำโลกเสรี ส่วนสหภาพโซเวียตซึ่งเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมเมื่อ ค.ศ. 1918
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ได้เป็นผู้นำกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและ
พยายามที่จะเป็นผู้นำการปฏิวัติโลกตามแนวความคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์
ความร่วมมือระหว่างประเทศ
ในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ความขัดแย้งระหว่างกันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
สำหรับสาเหตุของความขัดแย้งมีทั้งเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง ศาสนาและความเชื่อ
จะเห็นได้ว่า ตลอดเวลาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นอยู่เสมอ ไม่ว่า
จะเป็นความขัดแย้งในระดับที่ไม่รุนแรงนัก ไปจนกระทั่งความขัดแย้งในระดับที่รุนแรงจนก่อให้
ครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายทางด้านทรัพย์สินและชีวิตของ
มนุษย์อย่างมหาศาล ขณะเดียวกันมนุษย์ก็ตระหนักถึงผลเสียของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้ต้อง
คิดหาหนทางที่จะป้องกันและสร้างสันติภาพร่วมกัน จึงเห็นความสำคัญของความร่วมมือระหว่าง
ประเทศความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น นอกจากเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพแล้วยังเป็นการ
ประสานผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านการค้า การทหาร ตลอดจนวัฒนธรรม จึงทำให้ประเทศ
ต่างๆ เห็นความสำคัญในการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเพื่อประสานผลประโยชน์ในด้านต่างๆ
ของตน
ประเภทของความร่วมมือระหว่างประเทศ
ความร่วมมือระหว่างประเทศมีหลายประเภท เช่น
1. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเมือง เป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆ ที่
ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
2. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านทหาร ในการให้ความช่วยเหลือทางด้านการ
ทหารต่อกัน เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต เป็นต้น
3. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ เป็นการร่วมมือเพื่อให้เกิดความ
เข้มแข็งทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งหลายประเทศจะร่วมมือกันจัดตั้งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ เช่น สหภาพ
ยุโรป เอเปก องค์การการค้าโลก เป็นต้น
4. ความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านการศึกษา วัฒนธรรม และอื่นๆ ในการให้
คุ้มครองในแต่ละด้านที่มีการตกลงร่วมมือกัน ความร่วมมือด้านนี้ เช่น องค์การยูเนสโก อาเซียน
เป็นต้น
5. ความร่วมมือระหว่างประเทศที่เป็นการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นที่ได้รับความ
เดือดร้อน เช่น ผู้ได้รับภัยพิบัติ ผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้อพยพจากภัยสงคราม
เป็นต้น ความร่วมมือลักษณะนี้ เช่น กองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ เป็นต้น
No comments:
Post a Comment